เครื่องมือคุณภาพ 7
ชนิด ( 7 QC Tools)
ความเป็นมา
ในปี ค.ศ. 1946 JUSE หรือ
Union of Japanese Scientists and Engineers ได้ถูกก่อตั้งขึ้นพร้อม
ๆ กับการจัดตั้งกลุ่ม Quality Control Research Group ขึ้น
เพื่อค้นคว้าให้การศึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบการควบคุม
คุณภาพทั่วทั้งประเทศ โดยมีจุดหมายเพื่อลบภาพพจน์สินค้าคุณภาพต่ำ ราคาถูก
ออกจากสินค้าที่ "Made in Japan" และเพิ่มพลังการส่งออกไปพร้อม
ๆ กัน
หลังจากนั้นมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็คือ
Japanese Industrial Standards (JIS) marking system ได้ถูกกำหนดเป็นกฏหมายในปี
ค.ศ. 1950 พร้อม ๆ กับการเชื้อเชิญ Dr. W. E.
Deming มาเปิดสัมมนาทาง QC ให้แก่ผู้บริหารระดับต่าง
ๆ และวิศวกรในประเทศ นับเป็นการจุดประกายของการตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพ อันตามมาด้วยการก่อตั้งรางวัล
Deming Prize อันมีชื่อเสียง
เพื่อมอบให้แก่โรงงานซึ่งมีความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพดีเด่นของประเทศ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 Dr. J. M. Juran ได้
ถูกเชิญมายังประเทศญี่ปุ่น
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กรในการนำเทคนิค
เหล่านี้มาใช้งาน โดยได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุก ๆ คน
นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคุรภาพ รวม 7
ชนิด ที่เรียกว่า QC 7 Tools มาใช้
เครื่องมือควบคุมคุณภาพทั้ง 7
ชนิดนี้ ตั้งชื่อตามนักรบในตำนานของชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ "บงเค " (Ben-ke)
ผู้ซึ่งมีอาวุธอันร้ายกาจแตกต่างกัน 7
ชนิด พกอยู่ที่หลัง
และสามารถเลือกดึงมาใช้สยบคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือร้ายกาจคนแล้วคนเล่า
สำหรับเครื่องมือทั้ง 7 ชนิด สามารถแจกแจงได้ดังนี้
1. ผังแสดงเหตุและผล
(Cause-and-Effect Diagram) หรือผังก้างปลา (Fishbone
Diagram) บางครั้งเรียกว่า Ishikawa Diagram ซึ่งเรียกตามชื่อของ
Dr.Kaoru Ishikawa ผู้ซึ่งเริ่มนำผังนี้มาใช้ในปี ค.ศ. 1953
เป็นผังที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะ ทางคุณภาพกับปัจจัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
2. แผนภูมิพาเรโต
(Pareto Diagram) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของความบกพร่องกับปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้น
3. กราฟ
(Graphs) คือภาพลายเส้น แท่ง วงกลม
หรือจุดเพื่อใช้แสดงค่าของข้อมูลว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
หรือแสดงองค์ประกอบต่าง ๆ
4. แผ่นตรวจสอบ
(Checksheet) คือแบบฟอร์มที่มีการออกแบบช่องว่างต่าง ๆ
ไว้เพื่อใช้บันทึกข้อมูลได้ง่าย และสะดวก
เครื่องมือคุณภาพ 7
ชนิด ( 7 QC Tools)
5. ฮีสโตแกรม
(Histogram) เป็นกราฟแท่งที่ใช้สรุปการอนุมาน (Inference)
ข้อมูลเพื่อที่จะใช้สรุปสถานภาพของกลุ่มข้อมูลนั้น
6. ผังการกระจาย
(Scatter Diagram) คือ
ผังที่ใช้แสดงค่าของข้อมูลที่เกิดจากความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัวว่ามีแนวโน้มไปในทางใด
เพื่อที่จะใช้หาความสัมพันธ์ที่แท้จริง
7. แผนภูมิควบคุม
(Control Chart) คือแผนภูมิที่มีการเขียนขอบเขตที่ยอมรับได้ของคุณลักษณะตามข้อกำหนดทางเทคนิค
(Specification) เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการควบคุมกระบวนการผลิต
โดยการติดตามและตรวจจับข้อมูลที่ออกนอกขอบเขต (Control limit)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น