กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ( Problem Solving)
กระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific
Method) แบ่งออกเป็น 5
ขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ
1.การกำหนดปัญหา
(Problem Definition)
2.การวิเคราะห์ปัญหา
(Analysis of the Problem)
3.การหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้
(Search for Possible Solution)
4.การประเมินและเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา
(Evaluation of Alternatives)
5.การเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปฏิบัติ
(Recommendation for Action)
3.1 การกำหนดปัญหา (Problem
Definition)
ในการกำหนดปัญหาจะต้องมีการแยกแยะรายละเอียดของข้อปัญหา
และต้องชี้ให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ๆนั้นอยู่ตรงไหน เป็นอย่างไร
โดยการหาข้อมูลของปัญหา เช่น ขนาดความสำคัญ
ตลอดจนระยะเวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จ โดยในขั้นแรกจะต้องให้ความหมายของปัญหาอย่างกว้าง
ๆแล้วจึงพยายามลดข้อบังคับ ข้อจำกัดหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆลง
และไม่ควรจะให้ความสำคัญหรือความสนใจกับวิธีการที่ทำอยู่ในขณะเวลานั้น(Present
Method) มากจนเกินไป
เพื่อให้มีอิสระในการสร้างสรรค์วิธีการแก้ไขปัญหา บางครั้งอาจจะแบ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาย่อย
ๆหลาย ๆส่วนก็ได้ วิธีนี้อาจทำให้ปัญหาหลักที่มีความซับซ้อนนั้น
สามารถวิเคราะห์และแก้ไขได้โดยง่ายขึ้น
3.2 การวิเคราะห์ปัญหา (Analysis
of the Problem)
เป็นการหาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหา
ซึ่งการวิเคราะห์ปัญหาจะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังต่อไปนี้คือ
3.2.1 แยกรายละเอียด ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่างๆ
ซึ่งอาจหมายถึงขีดจำกัดในด้านค่าใช้ จ่ายด้วย
(1) แผนภูมิกระบวนการผลิต (Process
Chart) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกกระบวนการผลิตหรือวิธีการทำงานให้อยู่ในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
ในแผนภูมินี้จะแสดงถึงขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
โดยจะเริ่มเขียนตั้งแต่รับวัตถุดิบเข้ามาถึงโรงงาน แล้วติดตามบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับวัตถุดิบนั้นไปเรื่อย
ๆทุกขั้นตอน เช่น ถูกลำเลียงไปยังห้องเก็บ ถูกตรวจสอบ
ถูกเปลี่ยนรูปร่างโดยเครื่องจักร
จนกระทั่งเป็นชิ้นส่วนหรือนำไปประกอบเป็นผลิตภัณฑ์
ในแผนแผนภูมิกระบวนการผลิตจะใช้สัญลักษณ์แสดงถึงความหมายต่าง
ๆซึ่งสามารถดัดแปลงเพื่อนำไปใช้กับงานอย่างอื่นได้
โดยสมาคมวิศวกรเครื่องกลของอเมริกา (The American Society of Mechanical Engineers (ASME))แบ่งกิจกรรมในวิธีการทำงานออกเป็น
5 ประเภทหลักคือ
1) การปฏิบัติงานหรือการทำงาน
(Operations) แทนด้วย o หมายถึง
กิจกรรมที่ทำให้วัสดุ เปลี่ยนแปลงอย่างจงใจ หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุ
จะเป็นทางกายภาพหรือทางเคมี กิจกรรมที่แยกหรือประกอบ
กิจกรรมที่จัดหรือเตรียมวัสดุสำหรับขั้นตอนในการผลิต
2) การขนส่งหรือการขนย้าย
(Transportations) แทนด้วย Þ หมายถึง
กิจกรรมที่ทำให้วัสดุเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ยกเว้นการเคลื่อนย้ายขณะอยู่ในขั้นตอนการผลิต
และยกเว้นกรณีที่เป็นการเคลื่อนย้ายโดยพนักงานระหว่างตรวจสอบ
3) การตรวจสอบ
(Inspection) แทนด้วย ÿ หมายถึง
กิจกรรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ เปรียบเทียบชนิด คุณภาพ หรือปริมาณของวัสดุ
4) การพัก
(Storages) แทนด้วย Ñ หมายถึง
กิจกรรมที่วัสดุถูกเก็บ พัก หรือถูกควบคุมเอาไว้ ตามแผนการซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ถ้าต้องการ
5) ความล่าช้า
(Delays) แทนด้วย D หมายถึง
กิจกรรมที่มีการหยุดรอหรือพัก ก่อนที่จะมีการทำงานขั้นต่อไป
2) แผนภาพแสดงการไหล (Flow
Diagram) จะแสดงแผนผังของบริเวณที่ทำงานและตำแหน่งของเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
โดยจะเขียนเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ของสิ่งสังเกต
โดยแผนภาพการไหลถ้าแบ่งตามชนิดของสิ่งสังเกตจะแบ่งออกได้เป็น 2
ชนิดคือ 1.ผังการไหลของคน (Man Type) แสดงการเคลื่อนที่ของคน
ในการทำงานสิ่งที่สังเกตคือพนักงาน และ 2.ผังการไหลของวัสดุ (Material
Type) แสดงการเคลื่อนที่ของวัสดุหรือวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ในกรณีนี้สิ่งสังเกตคือวัสดุ แต่ถ้าแบ่งตามมิติของผังจะแบ่งออกได้เป็น 2
ชนิดคือ 1.ผังชั้นเดียว เป็นผังที่แสดงการไหลในแนวระนาบเดียว
(2 มิติ) และ 2.ผังหลายชั้น
เป็นผังที่แสดงการไหลในทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง (3
มิติ)
(3) แผนภูมิคนและเครื่องจักร (Man-Machine
Chart) หรือแผนภูมิกิจกรรม (Activity Chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์การทำงาน
โดยจะเขียนแสดงกระบวนการหรือลำดับการทำงานกับเวลาที่ใช้สำหรับกิจกรรมนั้นๆ
แผนภูมิกิจกรรมจะแสดงการทำงานของคนกับเวลาหรือการทำงานของเครื่องจักรกับเวลาเท่านั้น
(4) แผนภูมิการปฏิบัติงาน (Operation
Chart) หรือแผนภูมิมือซ้ายและมือขวา (Left and
Right Hand Chart) หรืแผนภูมิสองมือ (Two-Handed Process
Chart)เป็นแผนภูมิที่เขียนเพื่อแสดงการทำงานของมือซ้ายและมือขวา
โดยจะมีการเขียนเป็นแผนผังสถานีงาน ซึ่งจะประกอบด้วยงานที่จะต้องทำ วัสดุ
เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานและตำแหน่งที่คนงานทำงานอยู่
แล้วสังเกตการณ์ทำงานของคนงานอย่างละเอียด
บันทึกการเคลื่อนไหวของมือซ้ายและมือขวาของคนงาน
การสังเกตการณ์ทำงานควรสังเกตหลายๆรอบ แล้วจึงค่อยบันทึกสรุปการทำงานนั้นๆ
และจึงเขียนการเคลื่อนไหวของมือซ้ายลงในแผนภูมิข้างซ้าย การเคลื่อนไหวของมือขวาลงในแผนภูมิข้างขวาโดยใช้สัญลักษณ์แทนพร้อมกับมีคำอธิบายการทำงานกำกับอยู่ข้างๆ
3.2.3
คิดค้นหาวิธีการทำงานที่คนงานและเครื่องจักรน่าจะทำงานได้ดีที่สุด
และหาความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับเครื่องจักร
3.2.4
หลักจากขั้นตอนที่ 3.2.3 ตรวจสอบปัญหาอีกครั้ง
หรือวิเคราะห์ปัญหาย่อยต่างๆที่ได้แยกไว้
3.2.5
ตรวจสอบข้อจำกัดอีกครั้ง
ในการวิเคราะห์ปัญหา
ผู้วิเคราะห์จะต้องมีข้อมูลอย่างเพียงพอในทุกๆด้าน เช่น ปริมาณการผลิต
จำนวนคนงานที่ต้องการ เป็นต้น ผู้วิเคราะห์ควรรู้ระยะเวลาที่มีสำหรับการแก้ไขปัญหา
ถ้าเป็นปัญหาด้านการผลิตจะต้องทราบระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิต
ขั้นตอนต่างๆระหว่างผลิต
จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ถูกต้องตามปริมาณและคุณภาพที่ได้ออกแบบไว้
3.3 การหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ (Search
for Possible Solution)
หลังจากการวิเคราะห์ปัญหาแล้วก็เป็นการหาวิธีการต่าง ๆในการแก้ไขปัญหา
โดยหาทางเลือกที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา
ในการคิดหาทางเลือกต่างๆที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ผู้คิดจะต้องทราบข้อมูลโดยละเอียด
และมีความคิดสร้างสรรค์ ก่อนอื่นต้องทราบว่า
อะไรคือมูลเหตุพื้นฐานที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ถ้าสามารถกำจัดมูลเหตุนั้นได้
ปัญหาต่างๆก็จะหมดไปได้
ในขั้นตอนนี้เป็นเพียงการใช้ความคิดเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ให้มากวิธีที่สุด
3.4 การประเมินและเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา (Evaluation of Alternatives)
เมื่อรวบรวมวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมดแล้ว
ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินทางเลือกที่มีทั้งหมด
เพื่อสรรหาทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด ในการประเมินทางเลือกนี้จะต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยที่เป็นข้อจำกัด
เช่น เวลาในการแก้ไขปัญหา ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในแต่ละวิธี เงินลงทุนเริ่มแรก
อายุการใช้งาน อัตราการคืนทุน และระยะเวลาการคืนทุน
3.5การเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปฏิบัติ (Recommendation
for Action)
หลังจากเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดแล้ว
จะต้องมีการทำรายงานเสนอไปยังผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา
ในรายงานควรแสดงข้อมูลทุกชนิด รวมทั้งแผนภูมิ แผนภาพ รูปถ่าย หรือแบบจำลองต่างๆ
รวมทั้งข้อสมมติฐานต่างๆที่ได้ตั้งเอาไว้ ผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติควรตรวจสอบ
ซักถามให้เป็นที่เข้าใจเสียก่อนที่จะมีการสั่งให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
เขียนโดย
สนั่น เถาชารี ที่ 22:03
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น