วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

Cross Functional Management

 CFA ย่อมาจาก Cross Functional Activity แปลเป็นไทยได้ว่า “กิจกรรมข้ามสายงาน” สาเหตุที่เกิดระบบงาน หรือเครื่องมือตัวนี้ขึ้นมาก็เพราะ
ขีดจำกัดของระบบ QCC ที่เน้นเฉพาะการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระดับหน่วยงานย่อยเท่านั้นซึ่งก็เป็นวัตถุประสงค์หลักของ QCC ที่ตั้งใจ
จะให้ขอบเขตมันมีเพียงเท่านี้ CFA นี้บางที่ก็เรียกว่าเป็น CFM ที่มาจากคำเต็มว่า Cross Functional Management หรือ “การบริหารข้ามสายงาน” ก็มี

          ทางแก้ปัญหาในเรื่องนี้ก็คือการขยายขอบเขตของ QCC ออกไปให้สามารถแก้ปัญหาในระดับองค์กรได้ การแก้ปัญหาระดับองค์กรเป็นเรื่องของคน
ทั้งองค์กรไม่ใช่แผนกใดแผนกหนึ่งจึงต้องจัดตั้งทีมงานเฉพาะขึ้นมาประกอบด้วยบุคลากรข้ามสายงานมาทำงานร่วมกัน จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของมันนั้นได้
พัฒนาก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง คือเป็นการนำปัญหาในระดับองค์กรขึ้นมาแก้ไขกัน 

          ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากจะสามารถแก้ปัญหาข้ามสายงานได้แล้ว การทำงานเป็นทีมจะแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และสามารถร่วมมือกันข้ามกำแพงกั้น
หน่วยงานได้ หากประสบผลสำเร็จกิจกรรมนี้จะทำให้องค์กรก้าวเข้าสู่ระบบการทำงานเป็นทีมที่สมบูรณ์แบบได้ง่ายนั่นคือระบบ ทีมงานที่ควบคุมด้วยตัวเอง
cfa
หรือ Self-Directed Team ที่เป็นทีมงานในระดับสุดยอดของระบบงานสมัยใหม่ในปัจจุบัน

         ทีมงานที่ถูกกำหนดขึ้นมานี้มักถูกเรียกว่า "ทีมงานข้ามสายงาน" หรือ "Cross Functional Team - CFT" ที่ใช้เทคนิค
เดียวกันกับระบบ QCC ทั้งใน เรื่องของวิธีการในการแก้ปัญหา หรือ QC Story และเครื่องมือ QC 7 อย่าง หรือ Seven QC tools ที่ อาจต้องแถมเครื่องมือ QC ใหม่ 7 อย่างเข้ามาด้วย เพราะปัญหาในองค์กรใหญ่ๆมันอาจซับซ้อนขึ้นมาก

          ผมเคยพูดไว้หลายที่ว่าระบบการบริหารจัดการ หรือคุณอาจจะเรียกมันว่าเครื่องมือในการบริหารจัดการ (Management Tools) นั้นความจริงแล้วมัน ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันมาก เพราะมันงอกออกมาจากรากเดียวกัน เพียงแต่เป็นลูกเล่นของ
ปรมาจารย์ ทั้งหลายที่อยากจะพลิกแพลง ปรับเปลี่ยนโครงสร้างแล้วก็เรียกชื่อมันเสียใหม่ จึงสามารถมองออกได้ว่า เรื่องราวของ Six Sigmaนั้นมีเค้าโครง
เหมือนกับ CFA นี้เป็นอย่างมาก แล้วยังคงไปเหมือนกับเรื่องราว ของ “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” หรือ “Continuous Improvement” ที่มาตรฐาน
ISO 9000 เอาไปเรียกใหม่ว่า “Continual Improvement” ในข้อ 8.5.1นั่นเอง และทั้งหมดนี้ก็จัดเป็นหัวใจ หรือเสาหลักของ TQM เลยทีเดียว

          การวางระบบงานตัวนี้จะถือเป็นเรื่องใหญ่ก็คงไม่ผิด หมายความว่าจะทำกันเล่นๆคงไม่ได้ จะต้องทำกันอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และบูรณาการ หลาย
องค์กรที่นำหลักการไปใช้แล้วไม่ work ผมขอสรุปว่าไม่ทำไม่เป็น ก็ไม่ได้ใส่ใจกันอย่างจริงจังโดยเฉพาะผู้บริหารที่เขาเรียกว่า ไม่มีความจริงใจ ผู้บริหารที่
จริงใจ และจริงจัง จะต้องเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่นั่งอยู่ในห้องเฉยๆ ตาม style ผู้บริหารที่อัตตาค่อนข้างสูง ในการวางระบบก็ต้องไปดู้ที่ผู้บริหารก่อน หาก
เอาจริงก็ต้องทำกันอย่างเป็นขั้นตอนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น